โรคภัยไข้เจ็บ ตอนที่ 49 – การออกกำลังกาย (4)

การทำงานด้านบริหาร (Executive functioning: EF) รวมถึงกระบวนการอื่นๆ เช่นการใส่ใจ (Attention), วางแผน, การแก้ปัญหา, การทำงานของความทรงจำ (Working memory), การคิดเชิงนามธรรม (Abstract), การควบคุมตนเอง, การปรับปรุงอารมณ์ (Emotional regulation), การตัดสินใจ และอื่นๆ

ข้อมูลข้างต้นยังแสดงให้เห็นว่า หลังจาก 6 เดือน "อายุทางสมอง" (Cognitive age) ได้ปรับปรุงดีขึ้นถึง 8.8 ปี ประโยชน์เหล่านี้ยังขยายออก (Extend) ไปสู่ผู้ที่เป็นคนมีสุขภาพดีด้วย การออกกำลังกายแบบแอโรบิก (Aerobic exercise) เพียง 30 นาทีต่อวัน และ 4 วันต่อสัปดาห์ ได้ทำให้ EF สามารถปรับปรุงและเพิ่มความหนาของชั้นนอก (Outer layer) ของสมองได้อย่างน่าทึ่ง (Impressively)

ข้อมูลในระยะยาวได้แสดงให้เห็นว่าการออกกำลังกายในวัย 40+ ปี เพียง 2 ครั้งต่อสัปดาห์ อาจลดความเสี่ยง (Risk) ในการเป็นโรคสมองเสื่อม (Dementia) ในอนาคต ประโยชน์เหล่านี้ไม่จำกัด (Restrict) เฉพาะผู้ใหญ่เท่านั้น การออกกำลังกาย (Physical activity) ในเด็กๆ ก็สามารถปรับปรุงผลทดสอบทางวิชาการ (Academic achievement test)

นอกจากนี้ ยังรวมไปถึงการทำงานในด้านบริหาร (EF), ความเร็วในการประมวลผล (Processing speed), และความทรงจำอีกด้วย ข้อมูลเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า การมีกิจกรรมทางร่างกาย โดยเฉพาะการเต้นแอโรบิก มีประโยชน์ต่อสุขภาพสมองในทุกช่วงวัย สามารถปรับปรุงการทำงานในการคิด (Cognitive functioning) และลดความเสี่ยงในการเป็นโรคสมองเสื่อม

นอกจากนี้การออกกำลังกายมีประโยชน์ทางจิตใจ (Psychological) ซึ่งช่วยให้สุขภาพอารมณ์ (Emotional health) ดีขึ้น ในปี ค.ศ. 2017 ชาวอเมริกันมากกว่า 17+ ล้านคน ทนทุกข์ทรมาน (Suffer) จากภาวะซึมเศร้ารุนแรง (Major depression) ซึ่งเป็น 71% ของผู้ใหญ่ในสหรัฐอริกา แม้ว่าในหลายทศวรรษที่ผ่านมา เปอร์เซ็นต์ของผู้ใหญ่ที่มีภาวะซึมเศร้าเปลี่ยนแปลงไม่มากนัก

แต่สำหรับในวัยรุ่น (Adolescent) ชาวอเมริกัน มีการเพิ่มขึ้นของโรคซึมเศร้าถึง 8% ทำให้มีผลกระบต่อวัยรุ่น 3.2 ล้านคน โรคซึมเศร้ามีผลกระทบต่อเด็กสาวต่อเนื่อง (Staggering) โดยเฉพาะ โดย 1 ใน 5 ของเด็กสาว ทนทุกข์ทรมานจากภาวะซึมเศร้ารุนแรงในปี ค.ศ. 2017 อันที่จริง ประโยชน์ของการออกกำลังกายแบบแอโรบิกต่ออาการซึมเศร้ามีมากมาย (Extensive)

ข้อมูลแสดงให้เห็นว่าการออกกำลังกายเพียง 35 นาทีต่อวัน อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคซึมเศร้ารุนแรงได้ถึง 17% แม้ในผู้มีความเสี่ยงทางพันธุกรรม (Genetic) สูง ในผู้ป่วยที่มีภาวะ (Disorder) ซึมเศร้ารุนแรง, การออกกำลังกายแบบแอโรบิก เพียง 45 นาทีต่อวันและ 3 วันต่อสัปดาห์ ได้แสดงให้เห็นว่ามีผลต่อการลดอาการซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญ

ประเด็นนี้อาจจะมีประสิทธิผล (Effective) เทียบเท่ากับการรักษาด้วยยาต้านความซึมเศร้า (Anti-depressant) เนื่องจากภาวะซึมเศร้าและความวิตกกังวล (Anxiety) มักเกิดขึ้น (Commonly occur) พร้อมกัน การออกกำลังกายดูเหมือน (Appear) ว่าจะสามารถลดความรู้สึกวิตกกังวลในช่วงสั้นและในระยะยาว (Long-term) ทั้งในผู้คนที่มีหรือไม่มีภาวะวิตกกังวลเกิดขึ้นอยู่แล้ว (Established)

แหล่งข้อมูล – 

  1. Ramirez, Lucas, MD. (2022.o Simplify Your Health: A Doctor’s Practical Guide to a Healthier Life. Texas, USA: Black Rose Writing.
  2. สันต์ ใจยอดศิลป์, นพ. (2560). สุขภาพดีด้วยตัวคุณเอง: Good Health by Yourself (eBook). พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: บริษัท พิมพ์สวย จำกัด.